Present Simple Tense?

◊ โครงสร้าง Present Simple Tense ◊ หลักการใช้ Present Simple Tense

Past Simple Tense คือ อดีตกาลธรรมดา

Present Continuous Tense (Tense ปัจจุบันกำลังทำ)

Present Perfect Tense

◊ หลักการใช้ Present Simple Tense

1. ใช้เพื่อพูดถึงความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน หรือความเป็นจริงตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ตาม ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงทั่วๆไป (fact) และข้อมูลข่าวสาร (information) หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น

He comes from Thailand. เขา มา จาก ประเทศไทย

Elephants are the largest land animals. ช้าง เป็น สัตว์ บก ที่ใหญ่ที่สุด

Bangkok is the capital city of Thailand. กรุงเทพ เป็น เมืองหลวง ของ ประเทศไทย

The sun rises in the East and sets in the West. พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก

2. ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ นิสัย หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี ก็ได้ ซึ่งจะมีคำเหล่านี้กำกับอยู่ด้วย

always  เสมอ                                                              usually โดยปกติ

generally โดยปกติ                                                     often บ่อยๆ

frequently บ่อยๆ                                                        sometimes บางครั้ง

occasionally บางครั้ง                                                 seldom  ไม่ค่อยจะ

rarely  ไม่ค่อยจะ                                                          hardly  (ever)  แทบจะไม่ (เคย)

never  ไม่เคย                                                               every day  ทุกวัน

every+ Sunday/ Monday  ทุกวันอาทิตย์/ จันทร์….

every + / week/ month/ year ทุกสัปดาห์ / เดือน/ ปี

3. ใช้เพื่อให้คำแนะนำหรือการบอกทิศทาง เช่น

    Turn off the television before going to bed.
    (ปิดโทรทัศน์ก่อนเข้านอน)

    You go straight for 300 meters, then the destination is on your left.
    (คุณเดินตรงไป 300 เมตรและจุดหมายปลายทางจะอยู่ทางซ้ายมือของคุณ)

ตัวอย่างประโยค

1 ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างของประโยคบอกเล่า :  Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)
ทั้งนี้คำกริยาช่องที่ 1 นั้นจะมีการเติม s หรือ es ถ้าหากประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) แต่ถ้าประธานเป็น I, You หรือประธานพหูพจน์ (You (หลายคน), We, They) ให้คงรูปคำกริยานั้น ๆ ไว้เช่นเดิม เช่น

♦ S + V1 (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s,es)

I always go to bed at 10 o’clock. โดยปกติ ผม เข้านอน เวลา 4 ทุ่ม

We hardly ever drink coffee in the evening. เรา แทบจะไม่ เคย ดื่ม กาแฟ ใน ตอนเย็นWe watch a movie every Monday. เรา ดู หนัง ทุก วันจันทร์

He plays guitar very well. เขาเล่นกีตาร์เก่งมาก

ตัวอย่างประโยคที่ใช้กริยาช่วย

♦ S + กริยาช่วย + V1
ประธาน + กริยาช่วย + กริยาช่องที่ 1 (ไม่ต้องเติม s ทุกกรณี)
กริยาช่วยที่ใช้บ่อยคือ can, should, must

ถ้ามีกริยาช่วย นำหน้าแล้ว กริยาไม่ต้องเติม s หรือ es ทุกกรณี

  • I can runvery fast. ผม สามารถ วิ่งได้เร็ว

  • You should go คุณ ควรจะ ไป เดี๋ยวนี้

  • She must drinkmilk every morning. หล่อน ต้อง ดื่ม นม ทุกเช้า

*** ความรู้เพิ่มเติม : หลักการเติม s,es นั้นง่ายนิดเดียว คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วย ch, o, s, ss, sh, x ให้เติม es เมื่อประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) เช่น

She washes her car.
ประธานของประโยคคือ She ซึ่งเป็นเอกพจน์ คำกริยาคือ wash ที่ลงท้ายด้วย sh จึงต้องเติม es ต่อท้าย

** ส่วนคำกริยาอื่น ๆ ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยพยัญชนะทั้ง 6 ตัวนั้น ให้เติม s หลังคำกริยาในประโยคที่มีประธานเป็นเอกพจน์ได้เลย เช่น

My mom cooks some food for me.
ประธานของประโยคคือ My mom ซึ่งเป็นเอกพจน์ เราใช้ She แทน My mom ได้ คำกริยาคือ cook ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยพยัญชนะตามกฎ จึงเติม s ได้ทันที

** และถ้าหากคำกริยานั้นลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es ท้ายคำกริยานั้น เช่น study – studies, fly – flies, carry – carries เป็นต้น แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าหากหน้า y เป็นสระ (A, E, I, O, U) ให้เติม s ได้ทันที เช่น play – plays, buy – buys, stay – stays

2 ประโยคคำถาม

โครงสร้างของประโยคคำถามใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคือ

แบบที่ 1 : Verb to be + Subject + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา) ?
ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น

She is my sister.   —>   Is she your sister? (หล่อนเป็นน้องสาวคุณหรือเปล่า)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้นำ V. to be ขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธานได้เลย เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคคำถาม (และอย่าลืมเปลี่ยนคำสรรพนามด้วยนะคะ จาก my เป็น your)

แบบที่ 2 : Verb to do + Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)?ใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วย โดยขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธาน ซึ่งมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันคือ Do ใช้นำหน้า I, You และประธานที่เป็นพหูพจน์ (You, We, They) ส่วน Does ใช้นำหน้าประธานที่เป็นเอกพจน์ (He, She, It) และคำกริยาคงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s, es เช่น

They play football every evening.   —>   Do they play football every evening? (พวกเขาเล่นฟุตบอลทุกเย็นหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า they ซึ่งเป็นประธานพหูพจน์

That cat eats fish.   —>   Does that cat eat fish ? (แมวตัวนั้นกินปลาหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do นั่นก็คือ does มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า that cat หรือก็คือ it ซึ่งเป็นประธานเอกพจน์ โดยคำกริยาคือ eat มีการตัด s ออกในประโยคคำถาม

3 ประโยคปฏิเสธ

รูปแบบประโยคปฏิเสธใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคล้ายกับรูปแบบประโยคคำถามคือ

แบบที่ 1 : Subject + Verb to be + not + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา)
ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น

I am your servant.   —>   I am not your servant. (ฉันไม่ได้เป็นคนรับใช้ของคุณ)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้เติม not ไว้หลัง V. to be ได้ทันที เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคปฏิเสธ

แบบที่ 2 : Subject + Verb to do + not + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)
แบบที่สองใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วยแล้วตามหลังด้วย not เพื่อบอกความปฏิเสธ ส่วนคำกริยาให้คงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s,es เช่น

He watches television at home.   —>   He does not watch television at home. (เขาไม่ได้ดูโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do นั่นก็คือ does มาเป็นกริยาช่วยและตามด้วย not เพื่อบอกรูปปฏิเสธ ส่วนคำกริยาเมื่ออยู่ในรูปปฏิเสธแล้วให้ตัด s,es ทิ้งคงเหลือคำกริยาช่องที่ 1 รูปเดิม