ท่ายกอก

ท่าถอดหมวก-ท่าสวมหมวก

ท่ากลับหลังหันในเวลาเดิน

เรื่องที่จะทาการฝึก : บุคคลท่ามือเปล่า “ท่ากลับหลังหันในเวลาเดิน”

ความมุ่งหมาย : เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบฝึกและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันของ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

ประโยชน์ : เพื่อให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้ในการเปลี่ยนทิศทางจากตรงหน้าไปทิศทางตรงข้ามในขณะเคลื่อนที่

คำบอก : เป็นคำบอก “แบ่ง” ใช้คำบอก “กลับหลัง – หัน”

การปฏิบัติ : แบ่งออกเป็น ๓ จังหวะ

จังหวะหนึ่ง : เมื่อได้ยินคำบอก “กลับหลังหันจังหวะ” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้น ให้ผู้ปฏิบัติก้าวเท้าขวาออกเดิน ต่อไปตามปกติ และเมื่อได้ยินคำบอก “หนึ่ง” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้ง ในลำดับของการก้าวเท้าเดิน ให้ผู้ปฏิบัติก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าประมาณหนึ่งก้าว ลักษณะของการตบเท้าลงกับพื้นอย่างแข็งแรง พร้อมกับยั้งตัวหยุดเดินไว้ ยกมือซ้ายขึ้นมาอยู่ที่หน้าหัวเข็มขัดห่างประมาณหนึ่งฝ่ามือ ให้สะบัดมือขวา ไปข้างหลังจนแขนขวาเหยียดตึง (ในลักษณะของการฟันมือ) น้าหนักตัวอยู่บนเท้าขวาส้นเท้าซ้ายเปิด ลักษณะท่าทางของลำตัวยังอยู่ในท่าตรง สายตามองตรงไปด้านหน้าในแนวระดับ

จังหวะสอง : เมื่อได้ยินคำบอก “กลับหลังหันจังหวะ – สอง” ให้ผู้ปฏิบัติตบเบี่ยงไปทางขวาลงกับพื้นอย่าง แข็งแรง ห่างจากปลายเท้าขวาเล็กน้อย โดยให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ในแนวเดียวกับปลายเท้าขวา ปลายเท้าซ้าย บิดเฉียงไปทางขวา ๔๕ องศา พร้อมกันนั้นให้เปลี่ยนมือขวามาอยู่ที่หน้าหัวเข็มขัด และสะบัดมือซ้าย เฉียงไปข้างหลัง (ในลักษณะของการฟันมือ) จนแขนซ้ายเหยียดตึง  จากน้ันให้ใช้ปลายเท้าทั้งสอง เป็นจุดหมุน หมุนตัวไปทางขวาด้วยแรงเหวี่ยงของสะโพกจนได้ ๑๘๐ องศา ในขณะที่หมุนตัวส้นเท้าทั้งสอง เปิด ให้สะบัดมือขวาเฉียงไปข้างหลัง (ในลักษณะของการฟันมือ) จากนั้นลดมือทั้งสองมาอยู่ข้างขาท้ังสอง อย่างแข็งแรง (แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง มือทิ้งดิ่งนิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกัน ไม่ติดข้างลาตัว) น้ำหนักตัวอยู่บน เท้าขวา ส้นเท้าซ้ายเปิดขาซ้ายเหยียดตึง ส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่ในลักษณะท่าตรง (รูปที่สอง)

จังหวะสาม : เมื่อได้ยินคำบอก “กลับหลังหันจังหวะ – สาม” ให้ผู้ปฏิบัติก้าวเท้าซ้ายออกเดินต่อไป ในลักษณะของการเตะเท้าและตบเท้า แขนและมือทั้งสองปฏิบัติตามลักษณะของการเดินสวนสนาม